
แพทย์แผนไทย เตือนเลี่ยงสูดกลิ่น ‘ต้นตีนเป็ด’ ที่ช่วงค่ำจะมีกลิ่นแรงกว่าเวลาอื่น เพราะอาจส่งผลต่อระบบหัวใจล้มเหลว
สุขภาพ ขณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ต้นตีนเป็ดกว่า 20 ต้น ออกดอกบานสะพรั่งพร้อมกันส่งกลิ่นรุนแรง ที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ต.วังกระแจะ อ.เมือง จ.ตราด ‘ต้นตีนเป็ด’ หรือ พญาสัตบรรณ ราวๆ 20 ต้น ที่มีความสูงเกือบ 10 เมตร ออกดอกบานสะพรั่ง สิ่งกลิ่นทั่วบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด ซึ่งจุดเป็นที่มีต้นตีนเป็ดเยอะที่สุดในเขต อ.เมืองตราด น.ส.มยุรี บุญส่ง อายุ 35 ปี แพทย์แผนไทย ชำนาญการโรงพยาบาลตราด สาขาวัดไผ่ล้อม ให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้นตีนเป็ดออกดอก และส่งกลิ่นไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะในช่วงเย็นเป็นช่วงที่มีกลิ่นมากที่สุด ซึ่งต้นตีนเป็ด มีทั้งคุณและโทษ โดยประโยชน์ สามารถนำเปลือกมาใช้เป็นยารักษาพิษไข้ต่างๆ ได้ ส่วนโทษนั้นดอกที่ส่งกลิ่นแรงๆ เป็นกลิ่นของไซยาไนด์ มีผลต่อระบบหัวใจโดยตรง และการหมุนเวียนของเลือดด้วย หากสูบดมนานๆ เกิดอาการเวียนหัว หน้ามืด บริเวณท้ายทอยจะมีอาการตึง อาจจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ระบบหัวใจอาจล้มเหลวได้ เตือนประชาชนว่า หากอยู่ใกล้กับต้นตีนเป็ด ควรหลีกเลี่ยงดีที่สุด ไม่แนะนำให้สูบดม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใส่หน้ากากอนามัยจะช่วยลดการกลิ่น และหากเกิดการเวียนหัวโดยฉับพลัน ให้ใช้ยาดม ใช้น้ำเหลือง ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อน โดยทาบริเวณท้ายทอย ขมับทั้ง 2 ขา เพื่อให้เลือดลมเดินได้ตามปกติ
การบริโภคกาแฟดำในปริมาณที่เหมาะสมอาจเป็นหนทางหนึ่งในการลดความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว
สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ได้ตีพิมพ์บทความในวารสาร ข่าวสุขภาพ ของสมาคม ในหัวข้อ “ความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคกาแฟกับความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว” ผลการศึกษาพบว่า ยิ่งดื่มกาแฟมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวยิ่งลดลงเท่านั้น ทั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์จากข้อมูลของผู้ดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนเท่านั้นนายแพทย์ เดวิด เคา เผยว่า รู้สึกประหลาดใจกับผลที่ออกมา คนมักจะคิดว่ากาแฟและคาเฟอีนเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อร่างกาย เนื่องจากมีการนำไปเชื่อมโยงกับอาการใจสั่นและความดันสูงทางทีมวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก 3 แหล่ง ได้แก่ Framingham Heart Study, Atherosclerosis Risk in Communities Study และ Cardiovascular Health Study ที่มีการติดตามผลเป็นเวลา 10 ปี ในกลุ่มตัวอย่างกว่า 21,000 คน ที่ดื่มกาแฟไม่เกิน 3 แก้วต่อวัน ข้อมูลที่วิเคราะห์จาก Framingham และ Cardiovascular Health พบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวน้อยลง 5-12% ต่อแก้ว เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มกาแฟ ส่วน Atherosclerosis Risk in Communities Study ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ไม่ดื่มกาแฟเลย กับกลุ่มผู้ที่ดื่มกาแฟ 1 แก้วต่อวัน แต่สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟ 2 แก้วขึ้นไป จะมีความเสี่ยงลดลง 30% อย่างไรก็ตาม ข้อมูลนี้นับเฉพาะผู้ที่ดื่มกาแฟดำไม่ใส่น้ำตาลเท่านั้น และยังไม่ยืนยันว่าเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีคาเฟอีน เช่น ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง จะมีผลช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเหมือนกับกาแฟหรือไม่