
นายแพทย์ธีรชัย บุญยะลีพรรณ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยข้อมูลจากการใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
การศึกษา หรือเด็กที่อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งวัดแนวโน้มพัฒนาการเด็กปฐมวัยของประเทศไทย พบว่า เด็กไทย 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25 มีพัฒนาการไม่สมวัย โดยพัฒนาการเด็กไม่สมวัยที่พบมากที่สุดคือพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ร้อยละ 75.2 รองลงมาคือพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ร้อยละ 60.1 และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ร้อยละ 47 ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขของพัฒนาการด้านการใช้มือหรือกล้ามเนื้อมัดเล็ก ที่เชื่อมโยงกับการเรียนรู้จะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ ในเด็กปฐมวัยของไทย เนื่องจากการทดสอบพบว่า มีนิ้วที่แข็งแรงเหลืออยู่เพียงนิ้วเดียว คือ “นิ้วชี้” ที่เด็กใช้ในการเลื่อนหน้าจอสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ทำการลงสำรวจก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีแนวโน้มที่ปัญหาเรื่องพัฒนาการของเด็กจะแย่ลงกว่าเดิมภาวะกล้ามเนื้อบกพร่องในเด็กประถมต้น จากงานวิจัยในพื้นที่เรื่อง “ภาวะกล้ามเนื้อบกพร่องในเด็กประถมต้น” ระบุว่า แรงบีบมือของเด็กที่อยู่เกณฑ์ปกติ จะอยู่ที่ 19 กิโลกรัม แต่จากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จากห้องเรียน 74 โรงเรียน ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ พบว่าเด็กนักเรียนจำนวน 98% มีแรงบีบมือต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของเด็กในวัยเดียวกัน โดยมีเด็กนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เพียง 1.19% เท่านั้น และมีเด็กนักเรียนมากกว่า 50% จับดินสอผิดวิธี สะท้อนว่ากล้ามเนื้อมือไม่แข็งแรง “หลังเปิดเทอม 1/2565 เราก็ลงไปเยี่ยมโรงเรียน ลงครั้งแรกที่จังหวัดสงขลา ก็เจอผู้ปกครองว่าตอนนี้ลูกอยู่ ป.2 แล้ว แต่ตอนลูกอยู่ อ.3 ก็เหมือนลูกจะเขียนได้แล้ว แต่พออยู่ ป.1 ลูกเรียนออนไลน์ทั้งปี พอเปิดเทอมกลับมา กลับเป็นว่าลูกเขียนหนังสือไม่เป็นตัว พอไปจังหวัดปัตตานี คุณครูก็ลงมาบอกว่าปีนี้สาหัสมาก เขาสอนเด็ก ป.2 เด็กจับดินสอยังกำมืออยู่เลย
พอไปอีกจังหวัดก็เป็นแบบเดิม เลยเป็นที่มาที่เราใช้เครื่องมือวัดแรงบีบมือ ขณะเดียวกันก็ให้นักเรียนเขียนด้วย” ผศ.พรพิมล คีรีรัตน์ โค้ชโครงงานฐานวิจัย (ป.4 – ม.3) โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เล่า
“นอกจากวัดแรงบีบมือ เราก็ดูการจับดินสอของเด็ก ให้เด็กเขียนให้ดู ก็จะเห็นว่าเด็กกำดินสอแน่นมาก แล้วดินสอก็เอียงขึ้น หรือว่าเอนไปข้างหน้า การจับแบบนี้ ช่วงระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้แน่นมาก เวลาที่เด็กเขียน เขาจะเขียนยาก มันจะเคลื่อนดินสอได้ยากาก เพราะถูกล็อกอยู่ แล้วเด็ก ๆ จะเขียนไปแล้วก็จะคลายมือเพราะเมื่อย” ผศ.พรพิมลอธิบาย หลังค้นพบปัญหา จึงได้ริเริ่มโครงการ PSU ครูรักศิษย์ ครั้งที่ 7 “การพัฒนาฐานกาย” โดยโรงเรียนวัดมุจลินทวาปีวิหาร (เพชรานุกูลกิจ) อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ที่หลังจากการฟื้นฟูต่อเนื่อง ข่าวการศึกษา ก็พบว่าค่าแรงบีบมือของเด็กนักเรียนมีเพิ่มมากขึ้น 0.5 – 2 กิโลกรัมในเวลาเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น