
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี เตือน อย่ากินไส้กรอกที่ระบุแหล่งไม่แน่ชัด หลังพบผู้ป่วย 6 ราย เป็นภาวะเมทฮีโมโกลบิน มีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ
เด็ก วันที่ 28 ม.ค. 65 ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้โพสต์เตือนประชาชน เรื่อง อย่ากินไส้กรอกที่ระบุแหล่งไม่แน่ชัด ผ่านทางเฟซบุ๊ก Ramathibodi Poison Center โดยระบุข้อความว่า สัปดาห์ที่ผ่านมี เด็กป่วยด้วยภาวะ “เมทฮีโมโกลบิน” (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย) โดยทั้งหกรายมีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ อาจหมดสติได้ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต ภาวะ Methemoglobin เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดซ์โดยสารออกซิแดนท์ต่างๆ กลายเป็น methemoglobin ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจน เช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรง จะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำ และเสียชีวิตได้ โดยสารออกซิแดนท์ อาจมีการเติมในไส้กรอก หรืออาหารแปรรูป คือ สารตระกูลไนเตรท และไนไตรท ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรท และโซเดียมไนเตรทในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรท ให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้ โปรดเฝ้าระวังการบริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัด/ไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในเด็ก เนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่
หากมีอาการผิดปกติ ควรไปตรวจที่ รพ. หากทาง รพ. สงสัยภาวะ methemoglobinemia สามารถปรึกษา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีได้ที่ 1367 ตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ประสานกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ข่าวเด็ก เพื่อดำเนินการสืบค้นแหล่งที่มาของการระบาดเพิ่มเติมแล้วนอกจากนี้ ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ยังระบุข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปกติร่างกายคนเราได้รับสารออกซิแดนท์ในขนาดน้อยๆ จากแหล่งต่างๆ แต่ไม่เกิดปัญหา เพราะร่างกายสามารถเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติได้ แต่หากมีปริมาณ methemoglobin สูงมากๆ (ได้รับสารออกซิแดนท์เยอะเกินไป) ร่างกายจะเปลี่ยน methemoglobin คืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน ในเด็กความสามารถในการเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเกิด methemoglobin ได้ง่ายกว่า การตรวจเบื้องต้น จะพบว่าระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้ว อาจต่ำ 80-85% ได้ แต่เมื่อเจาะตรวจ arterial blood gas จะพบว่าระดับออกซิเจนอยู่ในระดับปกติ เรียกความแตกต่าง ของการพบระดับออกซิเจนที่ต่างกัน จากการตรวจทั้งสองวิธีว่า oxygen saturation gap ซึ่งอาจพบในภาวะอื่นได้ด้วย ในที่ที่ตรวจ arterial blood gas ไม่ได้ สามารถทำ bedside test โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยมาพ่นออกซิเจน 2 LPM นาน 2 นาที ในคนปกติเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน แต่หากเป็นผู้มี methemoglobin เลือดจะยังคงเป็นสีดำ การตรวจยืนยันจำเพาะ สามารถวัดระดับ methemoglobin ด้วย co-oximeter (ในเครื่อง arterial blood gas บางรุ่นจะพัฒนาการตรวจส่วนนี้เข้าไปด้วย) การรักษาคือหยุดการได้รับสาร ให้ออกซิเจน และในรายที่รุนแรงอาจพิจารณาใช้ยา methylene blue (มีในระบบยาต้านพิษ) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงจากการได้รับสารออกซิแดนท์ร่วมด้วยต้องมีการติดตามระดับเกลือแร่ ให้สารน้ำและเลือดทดแทน.
แนะนำข่าวเด็ก อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : สลด! นักเรียน ม.3 โรงเรียนใน จ.ตราด ชวนกันเล่นน้ำในโครงการแก้มลิง สุดท้ายจมน้ำดับ 2 ราย