
เกษตรฯเตรียมเสิร์ฟเนื้อวากิวสุรินทร์ จากเกษตรกรสหกรณ์ฯวากิวยางสว่าง ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย – แปซิฟิกหรือเอเปค 2022
วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 นายเรืองศักด์ สีตะริสุ ประธานกรรมการสหกรณ์โคเนื้อสุรินทร์วากิวยางสว่าง จำกัด กล่าวว่า อดีตชาวบ้านในตำบลยางสว่างนิยมเลี้ยงกระบือเป็นอาชีพและอ.รัตนบุรีเป็นพื้นที่มีการเลี้ยงกระบือมากที่สุดของจ.สุรินทร์ อาหาร แต่มาช่วงหลังการเลี้ยงกระบือเริ่มหายไป ก่อนกลับมาพลิกฟื้นอาชีพเลี้ยงโคเนื้อวากิวขึ้นมาใหม่อีกครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากขายได้ราคาดี เป็นที่ต้องการของพ่อค้าและผู้บริโภคผลจากการต่างคนต่างเลี้ยง ต่างคนต่างขาย ทำให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าหรือนายฮ้อย ชาวบ้านก็ขายตัดราคากัน ทำให้ไม่เป็นผลดีต่อคนเลี้ยง จึงมีการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2558 ภายใต้ชื่อ สหกรณ์โคเนื้อสุรินทร์วากิวยางสว่าง จำกัด ปัจจุบันมีสมาชิก 110 ราย ทุนดำเนินงาน 3.5 ล้านบาทปัจจุบันสหกรณ์มีโคเนื้อวากิวอยู่ประมาณ 600 ตัวแบ่งเป็นแม่พันธุ์ 80 ตัว ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่จะเลี้ยงโคต้นน้ำ โดยลูกโคที่เกิดมาประมาณ 15 – 18 เดือนก็จะจำหน่ายให้กับทางสหกรณ์ไปขุนต่อ โดยสหกรณ์รับซื้อลูกโคจากสมาชิกสนนในราคา 100 – 110 บาทต่อกิโลกรัม จากนั้นมาขุนต่อประมาณ 6-8 เดือนจนได้น้ำหนักเฉลี่ยอยู่ที่ 390 – 400 กิโลกรัมต่อตัว จึงส่งจำหน่ายให้กับโรงเชือดหรือพ่อค้าที่มารับซื้อ สนนในราคา 130 – 140 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันสหกรณ์จำหน่ายโคเนื้อวากิวเฉลี่ยอยู่ที่ 10 – 15 ตัวต่อเดือน เหตุที่ชาวบ้านไม่นิยมขุนต่อเพราะต้นทุนเลี้ยงสูง ต้องใช้อาหารอัดเข้าไปเยอะ สหกรณ์มีศักยภาพมากกว่า ทำให้สหกรณ์รายได้จากส่วนต่างตรงนี้ ยอมรับว่าผลพวงจากราคาเป็นสิ่งจูงใจอีกทั้งตลาดมีความต้องการสูง ข่าวอาหาร ปัจจุบันทำให้สมาชิกหันมาเลี้ยงโคเนื้อวากิว เฉลี่ย 3-6 ตัวต่อครัวเรือน แต่ปัญหาวากิวโตช้าและเนื้อไม่เยอะเหมือนบรามันหรือชาโลเล่ ดังนั้นสหกรณ์จึงส่งเสริมให้สมาชิกเลี้ยงบรามันและชาดลเล่ควบคู่ไปวากิว